สายตาสั้น-สายตายาวคืออะไร

เรื่องของการมองเห็นของคนเรานั้น ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป หลายท่านอาจพบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของ สายตาสั้น บ้างก็มีปัญหาเกี่ยวกับสายตายาวหรือเรื่องของสายตาเอียงก็มีเช่นกัน แต่ทุกๆ ท่านทราบกันหรือไม่ครับว่า ปัญหาเรื่องสายตาเหล่านี้เกิดมาจากสาเหตุใดกันแน่ แล้วเราจะมีวิธีดูแลหรือปรับตัวเพื่อรับมือกันอย่างไรถึงจะเหมาะสม วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปหาคำตอบกันดูครับ

สายตาสั้นสายตายาวคืออะไร?

สายตาสั้น (Myopia)หมายถึง การที่ภาพหรือแสงที่ผ่านส่วนต่างๆของตาแล้วรวมแสงหรือรวมภาพ (Focus) ก่อนถึงจอประสาทตา (Retina) ทำให้การมองเห็นภาพในระยะไกลไม่ชัดเจน ต้องหยีตามองภาพ ในทางตรงกันข้ามเมื่อมองดู วัตถุที่อยู่ใกล้มากขึ้นก็จะเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น สาเหตุอาจเกิดได้จากกระบอกตายาวกว่าปกติหรือกระจกตามีความโค้งมากเกิน ซึ่งคนสายตาสั้นสามาตรแก้ไขได้ง่ายด้วยการใช้เลนส์เว้า เพื่อให้ภาพกลับไปตกที่จอรับภาพทำให้เห็นภาพได้คมชัด

สายตายาว (Hyperopia)หมายถึง การที่ภาพหรือแสงที่ผ่านส่วนต่างๆของตาแล้วรวมแสงหรือรวมภาพ (Focus) หลังจอประสาทตา (Retina) ทำให้เห็นภาพในระยะไกลไม่ชัดเจน และเมื่อมองวัตถุใกล้ๆ การรวมแสงหรือภาพ (Focus) จะไปตกหลังจอประสาทตาหรือหลังจอรับภาพมากขึ้น คนที่มีสายตายาวจึงมีอาการมองในระยะใกล้ไม่ชัดเจน แต่ถ้าเป็นคนที่มีความสามารถในการเพ่งดี (Accommodation) อวัยวะต่างๆ ภายในลูกตามีความยืดหยุ่นสูง เช่น เด็กก็จะสามารถปรับการรวมแสง (Focus) ทำให้มองเห็นภาพชัดทั้งๆ ที่มีปัญหาสายตายาวอยู่ ดังนั้นผู้ที่มีสายตายาวจึงมักมีอาการปวดตา ปวดศีรษะเมื่อใช้สายตามากๆ สาเหตุอาจเกิดจากกระบอกตาสั้นกว่าปกติหรือกระจกตาแบนเกินไป ซึ่งคนสายตายาวสามาตรแก้ไขได้ง่ายด้วยการใช้เลนส์เว้า เพื่อให้ภาพกลับไปตกที่จอรับภาพทำให้เห็นภาพได้คมชัด

สาเหตุของการเกิดสายตาสั้นและสายตายาว

สายตาสั้นเกิดจากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ กระบอกตา หรือระยะทางระหว่างกระจกตาไปจนถึงจอตา มีความยาวมากกว่าปกติ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีสายตาปกติ เมื่อมีแสงมากระทบวัตถุ จะทำให้เกิดการสะท้อนเข้าสู่ดวงตาของเรา ความโค้งของกระจกตาหรือคอร์เนีย (Cornea) ปกติ จะช่วยทำหน้าที่ในการหักเหของแสง และเลนส์ตา (Lens) จะช่วยในการรับแสงเข้าสู่ลูกตา แน่นอนว่าการหักเหของแสง ทำให้จุดรวมแสงตกกระทบไปที่เรตินา (Retina) พอดี ซึ่งด้านในนั้นจะมีประสาทตา (optic nerve) ที่เปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังสมอง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนนั้นเองครับ

สายตายาวมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากขึ้น โดยจะประสบปัญหาตั้งแต่ช่วงอายุ 40 ปี ขึ้นไป ะเริ่มรู้สึกว่ามองระยะใกล้ลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่ไฟสลัว ๆ แต่เมื่ออยู่ในที่สว่างจะอ่านได้ดี แต่เกือบทุกคนจะประสบปัญหาสายตายาวเมื่ออายุ 45 ปี ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือและใช้สายตาในชีวิตประจำวันลดลงนั้นเองครับ

แนะนำ 2 แนวทางการดูแลสายตา

กินอาหารที่บำรุงสายตา ยกตัวอย่างเช่น สมูทตี้ผักรวม เพียงใช้มะม่วงและสัปปะรดแช่แข็ง ปั่นผสมกับผักใบเขียวอย่างปวยเล้ง และน้ำมะพร้าว เพียงเท่านี้ก็จะได้สมูทตี้ที่เปี่ยมไปด้วยลูทีน ซีแซนทีน และวิตามินซี พร้อมบำรุงร่างกาย รวมไปถึงน้ำมะพร้าวที่เหมาะกับการดื่มหลังออกกำลังกายด้วย

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและหมั่นพักการใช้สายตาทุกๆ 20-30 นาที โดยการเดินลุกหรือหันไปมองสิ่งอื่นๆ ที่อยู่ในตำแหน่งใหม่ๆ เพื่อล้นการเกรงของกล้ามเนื้อตา ผ่อนคลายการใช้ใช้สายตาได้มากขึ้น

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสายตาสั้น สายตายาว” ที่พวกเราได้นำมาแนะนำให้ทุกๆ ท่านได้เข้าใจในอาการเหล่านี้ หวังว่าจะช่วยเพิ่มความรู้ไม่มากก็น้อยกันนะครับ